Monday, April 25, 2011

Ekaphan Kraichak

ครอบครัวของเรา


ครอบครัวเล็กๆของเรา ไม่มีใครเป็นพ่อ ไม่มีใครเป็นแม่ ไม่มีสำมะโนประชากร 


      ครอบครัวของเรา พบกันแค่เพียงปีละครั้ง ในช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่กลับไปหาครอบครัวที่แท้จริง ของเขา มีก็แต่เพียงพวกเราเท่านั้นที่เลือกที่นั่งรถ นั่งเครื่องบิน ขับรถผ่าพายุหิมะ มาใช้เวลากับ ครอบครัวนี้ในเมืองเล็กๆริมฝั่งแม่น้ำฮัดสันของเมืองเล็กๆ ในรัฐนิวยอร์ค


      ผมและพี่น้ำมนต์ ก็เป็นหนึ่งในครอบครัวนั้น ที่ปีแล้วปีเล่า เรากลับไปที่ที่เดิม ตึกเล็กๆโทรมๆตึกนั้น ไปนอนในห้องที่ผนังแสนจะบาง อาบน้ำจากฝักบัวไหลไม่ปกติ นั่งอ่านเรียงความสิบกว่าชั่วโมงต่อวัน กินนอนไม่เป็นเวลา นับถอยหลังปีใหม่หน้าทีวีกับคนเยอะแยะที่เรารู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง 


     แต่พวกเราก็ยังกลับไปที่แห่งนั้น ไปหาครอบครัวของเรา ที่สโตนี่พอยท์


     ทุกๆปีนักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่มาศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมารวมตัวกันช่วงคริสมาสต์ ที่เมืองสโตนี่พอยต์ นิวยอร์ค เพื่อทำใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยที่นี่ ซึ่งประกอบไปด้วย การเขียนใบสมัครที่ยุ่งยากวุ่นวาย และเรียงความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชีวิต
และประสบการณ์ของตนเอง ครอบครัวของเรา ที่ประกอบด้วยคนดูแลโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษา
ชาวอเมริกา และ อาสาสมัครคนไทยจำนวนหนึ่ง ก็จะมาที่นี่เพื่อที่จะดูแลและคอยช่วยเหลือน้องๆ ให้ทำใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยให้เสร็จ


     หน้าที่ของผมและพี่น้ำมนต์ ก็คล้ายกับการเป็นพี่เลี้ยงเด็ก คอยช่วยเหลือน้องๆที่ภาษาอังกฤษ ยังไม่ค่อยแข็งแรง ค่อยเป็นล่ามทางภาษาและวัฒนธรรมระหว่างน้องๆกับที่ปรึกษาชาวอเมริกัน แต่ละปี แม้ว่าน้องๆหน้าใหม่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาในโครงการนี้ พวกเราที่เป็นเจ้าหน้าที่และ อาสาสมัครหลักก็ยังเป็นชุดเดิมๆ ยังคงเป็น คุณจอห์น คริส แมท สตีฟ สเตซี ลิซ่า พี่น้ำมนต์ ชิน และผม 
กว่าสิบปีที่เราทำงานอยู่ที่นี่ ได้เงินบ้างไม่ได้เงินบ้าง แต่ก็มากันด้วยใจ ด้วยความรู้สึกที่จะได้อยู่กับ “ครอบครัว” ของเราอีกครั้ง


     ทุกๆปี ผมกับพี่น้ำมนต์ก็จะติดต่อกัน ไม่ได้ถามว่าปีนี้เราจะไปไหม แต่ถามว่าปีนี้เราจะโผล่หน้ามาที่ สโตนี่พอยต์ เมื่อไร ทุกๆปี เราก็จะมานั่งขำขันในความไม่แข็งแรงในเชิงภาษาอังกฤษของน้องๆ มาพิจารณาความใสซื่อของน้องๆที่เพิ่งมาสู่ประเทศนี้ มานั่งขบคิดว่าจะทำอย่างไรให้น้อง
แสดงความเป็นตัวตนออกมาได้ มาคอยจับตาดูมาน้องคนไหนมีความทุกข์ มีความสุข มีความกังวล ระหว่างโครงการ โครงการคริสมาสต์ที่สโตนี่พอยต์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและ
บทสนทนาของเรา และตัวเราก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
จะด้วยประสบการณ์หรือพรสวรรค์ก็แล้วแต่ พี่น้ำมนต์ก็เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวเรามาโดยตลอด ผมคงนับไม่หมด ว่ามีน้องกี่คนที่มานั่งร้องไห้กับพี่น้ำมนต์ ว่าน้องสักกี่คนที่มีพี่น้ำมนต์ ให้กำลังใจ เคี่ยวเข็ญ ผลักดัน ให้ทำงานได้สำเร็จ ว่ามีน้องกี่คนที่เข้ามหาวิทยาลัยที่ตัวเองต้องการได้ด้วยคำแนะนำ จากพี่น้ำมนต์ และว่ามีน้องกี่คน ที่เติบโตขึ้น เป็นคนที่แข็งแรงและพร้อมที่จะสู้ชีวิตในแดนไกลแห่งนี้


     ผมรู้เพียงว่า ผมเป็นหนึ่งในน้องเหล่านั้น


     วันนี้ครอบครัวของเราก็ได้แต่คิดถึงคนสำคัญของครอบครัวเรา คนที่ทุกคนรักและเฝ้ารอการกลับมาของ
เธอทุกปี คนที่ทุกคนสามารถพึ่งพารอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากเธอได้เสมอ พวกเรารู้ว่าโครงการ คริสมาสต์ที่ไม่มีพี่น้ำมนต์ก็คงไม่เหมือนเดิม เรารู้ดีว่าคงไม่มีใครทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีเท่ากับพี่คนนี้ แต่ครอบครัวของเราจะไม่เคยลืมว่า พี่น้ำมนต์ เป็นสมาชิกของเราตลอดไป


เอกพันธ์ ไกรจักร์ (เบียร์)
--------------------------------------------------


Our Family


Our family has no father, no mother, no census. 


     Our family meets only once a year, in the time that most people will return to their “real family”, but we decide to trek through blizzards and traffic to a small town on a shore of the Hudson in New York. 


     Nammon and I are part of that family. Years after years, we keep going back to that same place -- that shabby old conference building -- only to sleep in a room with thin walls, to bath from pissing showers, to spend ten hours plus a day reading badly written essays, to sleep and eat at wrong times, to count down with people we sort of know. 


But we keep going back to our “family” in Stony Point, New York. 


     Every year, high-schoolers who earned scholarships from the Thai Government in the United States gather in a conference center in Stony Point, NY, to complete their college application. The program involves completing convoluted application forms, as well as crafting outstanding college essays. Our family, consisting of the American program advisor, American teaching assistants, and Thai student volunteers, is there to ensure that the students get their applications done properly and in time. 


     Responsibilities of Nammon and me are never defined, but basically similar to that of camp counselors. We help students who struggle with their English language and act as liaisons between Thai students and American staff. Even though a new lot of students come in every year, the core of team remains more or less the same (John, Chris, Matt, Steve, Stacy, Lisa, Nammon, Chin and me). For almost ten years, we keep coming with anticipations to see our family members again. 


     Every year, Nammon and I will be checking on each other – not on If we were going to the Christmas Program, but on when we would show up there. Every year, we would enjoy misuses of English vocabulary. We would ponder about innocence of the students. We would figure how to make students really express who they were on the paper. We would keep our eyes on students’ well-being, making sure they were productive and relatively happy. The program has become part of our lives, and we have become part of the program. 




     As if she were born to do this job, Nammon was always a key member of our family. I have lost count of how many students have come to her to cry, of how many students Nammon had helped, encouraged, and inspired, of how many students got into their dream colleges because of her, of how many people have grown up and become strong enough to live in this lonely and strange place. 


I only know that I am one of them. 


     Today, our family members miss having her around. We miss having someone whom we all love and always look forward to her return, whom we can always count on her dopey smiles and humors. We know, all too well, that Christmas program will never be the same. We know that nobody can take her place. But we also know that we will never forget that Nammon is always our family. 


Bier Kraichak


P.S. Thank you Stacy Calabretta for the initial use of the word “family” in this context. 

No comments:

Post a Comment